บทที่ 6
การสร้างศรัทาในวิชาชีพครู
ความหมายของศรัทธา
...ศรัทธา หมายถึง
ความเชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ ไม่งมงายไร้เหตุผล เป็นความเชื่อที่ประกอบด้วยปัญญา
ศรัทธาที่มั่นคง หมายถึง ศรัทธาที่มีความรู้กำกับ
ไม่หวั่นไหวเอนเอียงไปเพราะความไม่รู้ ความหลงงมงาย
หลักธรรมศรัทธาในวิชาชีพครู
อริยสัจ
4
มีความจริงอยู่ 4
ประการคือ การมีอยู่ของทุกข์ เหตุแห่งทุกข์ ความดับทุกข์ และ
หนทางไปสู่ความดับทุกข์ ความจริงเหล่านี้เรียกว่า อริยสัจ 4
1. ทุกข์
คือ การมีอยู่ของทุกข์ เกิด แก่
เจ็บ และตายล้วนเป็นทุกข์ ความเศร้าโศก ความโกรธ ความอิจฉาริษยา ความวิตกกังวล
ความกลัวและความผิดหวังล้วนเป็น ทุกข์ การพลัดพรากจากของที่รักก็เป็นทุกข์
ความเกลียดก็เป็นทุกข์ ความอยาก ความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในขันธ์ทั้ง 5
ล้วนเป็นทุกข์
2. สมุทัย
คือ เหตุแห่งทุกข์ เพราะอวิชา
ผู้คนจึงไม่สามารถเห็นความจริงของชีวิต พวกเขาตกอยู่ในเปลวเพลิงแห่งตัณหา ความโกรธ
ความอิจฉาริษยา ความเศร้าโศก ความวิตกกังวล ความกลัว และความผิดหวัง
3. นิโรธ
คือ ความดับทุกข์
การเข้าใจความจริงของชีวิตนำไปสู่การดับความเศร้า โศกทั้งมวล
อันยังให้เกิดความสงบและความเบิกบาน
4. มรรค
คือ หนทางนำไปสู่ความดับทุกข์
อันได้แก่ อริยมรรค 8
ซึ่งได้รับการหล่อ
เลี้ยงด้วยการดำรงชีวิตอย่างมีสติความมีสตินำไปสู่สมาธิและปัญญาซึ่งจะปลดปล่อย
ให้พ้นจากความทุกข์และความโศกเศร้าทั้งมวลอันจะนำไปสู่ความศานติและ ความเบิกบาน
พระพุทธองค์ได้ทรงเมตตานำทางพวกเราไปตามหนทางแห่งความรู้แจ้งนี้
อ้างอิงจาก http://www.learntripitaka.com/scruple/ariya4.html
ฆราวาสธรรม 4
1. สัจจะ คือความซื่อสัตย์ต่อกัน ซื่อตรงต่อกัน
จะทำจะพูดอะไรก็ทำหรือพูดด้วยความซื่อสัตย์สุจริตไม่หลอกลวงคดโกง
2. ทมะ คือการรู้จักข่มจิตของตน รู้จักข่มความไม่พอใจเมื่อเกิดขึ้นเป็นครั้งคราว
คนอยู่ร่วมกันนานๆ ย่อมต้องมีอะไรผิดพลาดบกพร่อง
ต้องรู้จักข่มไม่แสดงอาการพลุกพล่านหรือเกรี้ยวกราด
3. ขันติ คือความอดทน อดทนต่อความลำบากตรากตรำ
ในการศึกษาเล่าเรียน ในการงานอาชีพ
4. จาคะ คือความเสียสละ สละวัตถุสิ่งของสงเคราะห์เอื้อเฟื้อกัน
ช่วยเหลือผู้ทุกข์ยากขาดแคลน สละกำลังกาย
กำลังสติปัญญาเพื่อช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
อ้างอิงจาก http://www.mmv.ac.th/Result/online/Renu/ka4.htm
พรมวิหาร
4
1. เมตตา
: ความปราถนาให้ผู้อื่นได้รับสุข ความสุขเป็นสิ่งที่ทุกคนปรารถนา
ความสุขเกิดขึ้นได้ทั้งกายและใจ เช่น ความสุขเกิดการมีทรัพย์
ความสุขเกิดจากการใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการบริโภค ความสุขเกิดจากการไม่เป็นหนี้
และความสุขเกิดจากการทำงานที่ปราศจากโทษ
เป็นต้น
2. กรุณา :
ความปรารถนาให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ ความทุกข์ คือ
สิ่งที่เข้ามาเบียดเบียนให้เกิดความไม่สบายกาย
ไม่สบายใจ
และเกิดขึ้นจากปัจจัยหลายประการด้วยกัน พระพุทธองค์ทรงสรุปไว้ว่าความทุกข์มี 2
กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
- ทุกข์โดยสภาวะ
หรือเกิดจากเปลี่ยนแปลงตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น การเกิด การเจ็บไข้ ความแก่และ
ความตายสิ่งมีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาในโลกจะต้องประสบกับการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ซึ่งรวมเรียกว่า กายิกทุกข์
- ทุกข์จรหรือทุกข์ทางใจ
อันเป็นความทุกข์ที่เกิดจากสาเหตุที่อยู่นอกตัวเรา เช่น เมื่อปรารถนาแล้วไม่สมหวังก็เป็นทุกข์
การประสบกับสิ่งอันไม่เป็นที่รักก็เป็นทุกข์การพลัดพรากจากสิ่งอันเป็นที่รัก
ก็เป็นทุกข์ รวมเรียกว่า เจตสิกทุกข์
3. มุทิตา :
ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี คำว่า "ดี" ในที่นี้ หมายถึง
การมีความสุขหรือมีความเจริญก้าวหน้า ความยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดีจึงหมายถึง
ความปรารถนาให้ผู้อื่นมีความสุขความเจริญก้าวหน้ายิ่งๆขึ้น ไม่มีจิตใจริษยา
ความริษยา คือ ความไม่สบายใจ ความโกรธ
ความฟุ้งซ่านซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเห็นผู้อื่นได้ดีกว่าตน เช่น
เห็นเพื่อนแต่งตัวเรียบร้อยแล้วครูชมเชยก็เกิดความริษยาจึงแกล้งเอาเศษชอล์ก โคลน
หรือหมึกไปป้ายตามเสื้อกางเกงของเพื่อนนักเรียนคนนั้นให้สกปรกเลอะเทอะ
เราต้องหมั่นฝึกหัดตนให้เป็นคนที่มีมุทิตา
เพราะจะสร้างไมตรีและผูกมิตรกับผู้อื่นได้ง่ายและลึกซึ้ง
4. อุเบกขา : การรู้จักวางเฉย
หมายถึง การวางใจเป็นกลางเพราะพิจารณาเห็นว่า ใครทำดีย่อมได้ดี
ใครทำชั่วย่อมได้ชั่ว ตามกฎแห่งกรรม คือ
ใครทำสิ่งใดไว้สิ่งนั้นย่อมตอบสนองคืนบุคคลผู้กระทำ
เมื่อเราเห็นใครได้รับผลกรรมในทางที่เป็นโทษเราก็ไม่ควรดีใจหรือคิดซ้ำเติมเขาในเรื่องที่เกิดขึ้น
เราควรมีความปรารถนาดี คือพยายามช่วยเหลือผู้อื่นให้พ้นจากความทุกข์ในลักษณะที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม
อ้างอิงจาก http://www.learntripitaka.com/scruple/prom4.html
พลธรมม
4
ปัญญาพละ หมายถึง ปัญญาที่เป็นกำลัง
ให้รู้ดี รู้ชอบ รู้ถูกต้อง แล้วปฏิบัติตนในทางที่ถูกที่ควรทั้งกายและใจ
เพื่อจะได้อยู่ร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข คนทุกคนมีปัญญาแต่ไม่เท่ากัน
คนที่มีปัญญาดีอาจจะมีโอกาสที่จะประสบความสำเร็จในการดำเนินชีวิตได้มากกว่า
วิริยะพละ หมายถึง
ความเพียรพยายามที่เป็นพลัง ในการทำให้คนเราไปสู่จุดมุ่งหมายที่ต้องการ
โดยความเพียรนั้นต้องเป็นความเพียรชอบ
อนวัชชพล หมายถึง
การกระทำที่ไม่มีโทษเป็นกำลัง
คือทำในสิ่งที่ดีที่เป็นมงคลผู้กระทำจะเกิดความเจริญก้าวหน้า
สังคหพละ หมายถึง
การสงเคราะห์เป็นกำลังเพราะคนเมื่ออยู่ร่วมกันในสังคม
ก็ควรจะช่วยเหลือเกื้อกูลกันเพื่อสร้างความรักความสามัคคี
อ้างอิงจาก http://learning.eduzones.com/67409
อธิฐานกรรม
4
ปัญญา ควรรู้ให้ชัดแจ้งในเหตุผล
ให้พิจารณาให้เข้าใจในสภาวะของสิ่งทั้งหลายจนกว่ารู้ความเป็นจริง
สัจจะ ดำรงมั่นคงอยู่ในความเป็นจริง
ที่รู้แจ้งด้วยปัญญา เริ่มจากความเป็นจริงด้านวาจา จนถึงปรมัตถสัจจะ
จาคะ ความสละ หรือการละเสีย
หรือการเสียสละ คือ การละจากสิ่งที่ตนเคยชิน ที่ตนยึดมั่นไว้ และสิ่งทั้งหลาย
อุปสมะ คือความสงบ คือการระงับโทสะ
ระงับความวุ่นวาย อันเกิดจากกิเลสทั้งหลายแล้วทำจิตใจให้สะอาดสงบ
ปัญญา แปลว่า
ความรอบรู้สิ่งที่ควรรู้ หมายความว่า รู้ทั่วทุกด้าน รู้ทั้งเหตุทั้งผล
รู้เบื้องต้นเบื้องปลาย ในสิ่งที่ควรรู้ทั้งคดีโลกทั้งคดีธรรม
มีทั้งขั้นต่ำคือโลกิยปัญญา มีทั้งขั้นสูงคือโลกุตตรปัญญา - See
more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/05/athi-than-thrrm-4.html#sthash.MFSaVWHP.dpuf
ปัญญา แปลว่า ความรอบรู้สิ่งที่ควรรู้
หมายความว่า รู้ทั่วทุกด้าน รู้ทั้งเหตุทั้งผล รู้เบื้องต้นเบื้องปลาย
ในสิ่งที่ควรรู้ทั้งคดีโลกทั้งคดีธรรม มีทั้งขั้นต่ำคือโลกิยปัญญา
มีทั้งขั้นสูงคือโลกุตตรปัญญา - See more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/05/athi-than-thrrm-4.html#sthash.MFSaVWHP.dpuf
ปัญญา แปลว่า
ความรอบรู้สิ่งที่ควรรู้ หมายความว่า รู้ทั่วทุกด้าน รู้ทั้งเหตุทั้งผล
รู้เบื้องต้นเบื้องปลาย ในสิ่งที่ควรรู้ทั้งคดีโลกทั้งคดีธรรม
มีทั้งขั้นต่ำคือโลกิยปัญญา มีทั้งขั้นสูงคือโลกุตตรปัญญา - See
more at: http://www.ธรรมศึกษา.com/2013/05/athi-than-thrrm-4.html#sthash.MFSaVWHP.dpuf
อ้างอิงจาก
https://sites.google.com/site/reddthai/home/xthisthan-thrrm-4
ค่านิยม
...ค่านิยม หมายถึง
สิ่งที่สังคมถือว่ามีค่าพึงปราถนาต้องการให้เป็นเป้าหมายของสังคมและปลูกฝัง
ให้สมาชิกของสังคมยึดถือเป็นเป้าหมายในการดำเนินชีวิตควรหลีกเลี่ยง เช่น ความยากจน
สิ่งมีคุณค่า น่าปราถนา หรือนำความสุขมาให้มีทั้งเป็นวัตถุและไม่เป็นวัตถุ
....ค่านิยมไทยใหม่จะมีลักษณะสากลมากขึ้น
เช่น นิยมยกย่องวัตถุ ความมั่นคง ความหรูหราฟุ่มเฟือย ความเป็นอิสระ
เป็นตัวของตัวเอง ไม่ยึดมั่นในประเพณี ชื่นชมวัฒนธรรมตะวันตก และเทคโนโลยีสมัยใหม่
โดยเฉพาะการใช้โทรศัพท์มือถือ อำนาจและเกียรติยศชื่อเสียง
การดูแลรักษาสุขภาพด้วยโภชนาการ และการออกกำลังกาย
อ้างอิงจาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/srinual_p/social/sec02p%2003.html
ความสำคัญของค่านิยม
.... ค่านิยมบางอย่างได้สร้างแก่นของวัฒนธรรมนั่นเอง
เช่น ค่านิยมเรื่องรักอิสรเสรีของสังคมไทย ทำให้คนไทยมีพฤติกรรมที่ “ทำอะไรตามใจคือไทยแท้”
เพราะฉะนั้นค่านิยมจึงมีความสำคัญมากและมีผลกระทบถึงความเจริญหรือความ
เสื่อมของสังคม กล่าวคือ สังคมที่มีค่านิยมที่เหมาะสมและถูกต้อง เช่น
ถ้าสังคมใดยืดถือค่านิยมเรื่องความซื่อสัตย์ ความขยันหมั่นเพียร ความเสียสละ
หรือความสามัคคี สังคมนั้นย่อมจะเจริญก้าวหน้าแน่นอน
อ้างอิงจาก http://www.baanjomyut.com/library_2/extension-1/value/03.html
ค่านิยมพื้นฐาน 5 ประการ
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 1
การพึ่งพาตนเอง ขยันหมั่นเพียร และมีความรับผิดชอบ
การ พึ่งพาตนเอง หมายถึง
การที่บุคคลมีความเชื่อมั่นในความสามารถที่จะกระทำการใด ๆ ให้สำเร็จได้ด้วยตนเอง
สามารถดำรงชีพอยู่ได้โดยราบรื่นไม่เดือดร้อน
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 2
การประหยัดและออม
การ ประหยัดและออม หมายถึง
การรู้จักใช้รู้จักออมทรัพย์สิน เวลา ทรัพยากร
ทั้งส่วนตนและสังคมตามความจำเป็นให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 3
การมีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย
การ
มีระเบียบวินัยและเคารพกฎหมาย หมายถึง การควบคุมตนเองให้ประพฤติปฏิบัติตามกฎหมาย
ข้อตกลง ระเบียบแบบแผน และขนบธรรมเนียมประเพณีอันดีงาม เพื่อความสงบสุขในชีวิต
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 4
การปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา
การ ปฏิบัติตามคุณธรรมของศาสนา หมายถึง
การให้ประชาชนมีศรัทธาและยึดถือปฏิบัติในแบบแผนความประพฤติที่ตั้งอยู่ใน
ความดีงามและหลักธรรมของศาสนา
ค่านิยมพื้นฐาน ประการที่ 5
การมีความรักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
ความ รักชาติ หมายถึง การมีความรักไทย
นิยมไทย สำนึก และภูมิใจในความเป็นคนไทย มีความผูกพันหวงแหนมาตุภูมิ
มุ่งมั่นส่งเสริมความเจริญก้าวหน้าและความมั่นคงของประเทศ
รวมทั้งการรักเกียรติภูมิของชาติ
อ้างอิงจาก http://tatamaxone.blogspot.com/2013/06/5_24.html
การปลูกฝังค่านิยม
คือ
การถ่ายทอดวัฒนธรรมจากคนรุ่นเก่าไป ยังสมาชิกใหม่ของสังคม
เกิดขึ้นโดยผ่านกระบวนการเลี้ยงดูเด็กและการขัดเกลาทางสังคม เริ่มต้นจากพ่อ แม่
ญาติ เพื่อน และสื่อต่าง ๆ
ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนทางสังคมที่ทำหน้าที่ปลูกฝังถ่ายทอดปลูกฝังวัฒนธรรม
เริ่มจากการเป็นแบบอย่างให้เด็กเลียนแบบจนเป็นความเคยชินซึมซับจนกลายเป็น คุณสมบัติอย่างหนึ่งของเด็กโดยไม่รู้ตัวสิ่งเหล่านี้จะช่วยกล่อมเกลาเด็กให้
เกิดการเรียนรู้และรับถ่ายทอดวัฒนธรรมรวมทั้งค่านิยม
อ้างอิงจาก http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/phayao/srinual_p/social/sec02p%2004.html
ค่านิยมของครู
...เนื่องจากค่านิยมเป็นสิ่งที่มีผลต่อพฤติกรรมและจริยธรรมของคนในสังคม
การปลูกฝังค่านิยมที่ดีจึงเป็นสิ่งที่ผู้มีบทบาทหน้าที่ นับตั้งแต่พ่อแม่
ครูอาจารย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้บริหารควรปลูกฝังให้เยาวชนและคนในครอบครัว
คนในสังคม รวมทั้งผู้ใต้บังคับบัญชา ให้มีค่านิยมที่พึงประสงค์
การพัฒนา ค่านิยมในวิชาชีพครู
...ผู้บริหารการศึกษาที่จะประสบความเจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน
ประสบความสำเร็จ และประสบความสุข นอกจากจะมีความรู้ความสามารถแล้ว
ยังต้องเป็นผู้มีค่านิยมที่ถูกต้องดีงาม เป็นค่านิยมที่พึงประสงค์
และเป็นผู้มีจรรยาบรรณในวิชาชีพ
มีหลักปฏิบัติทั้งในฐานะเป็นข้าราชการและในฐานะเป็นครู
หรือแม้จะอยู่ในองค์การหน่วยงานใดก็ตามก็ต้องศรัทธาต่อวิชาชีพนั้นๆ
ต้องรักและภาคภูมิใจในวิชาชีพนั้นๆ เห็นความสำคัญของวิชาชีพนั้นด้วยความชื่นชม
ธำรงปกป้องรักษาเกียรติภูมิของวิชาชีพ เพื่อไม่ให้ใครมาดูหมิ่นดูแคลน
ทำให้สถานะของวิชาชีพต้องตกต่ำ ทำให้ตนเองต้องมัวหมอง
โดยเฉพาะผู้บริหารจะต้องอยู่ในฐานะที่ผู้คนรอบข้าง ผู้ใต้บังคับบัญชา
ให้ความเคารพนับถืออย่างจริงใจ เพื่อการคนบริหารคนบริหารงานให้สำเร็จลุล่วงด้วยดี
จึงจำเป็นที่ผู้บริหารจะต้องครองตนให้สมกับตำแหน่งหน้าที่และความรับผิดชอบ
อ้างอิงจาก http://www.baanjomyut.com/library_3/extension-2/e
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น